Knowledges
ถาม : คน ต่างชาติที่จะเข้ามาทำงานในประเทศไทย จะต้องขอวีซ่าประเภทใดเข้ามาครับ? |
ตอบ : คนต่างด้าวที่ประสงค์ทำงานในประเทศไทย จะต้องได้รับการตรวจลงตราประเภท Non-Immigrant B เพื่อใช้ในการเดินทางเข้าประเทศไทย โดยคนต่างด้าวจะต้องติดต่อขอรับการตรวจลงตรา(Visa) จากสถานเอกอัครราชทูตหรือสถานกงสุลของไทยในต่างประเทศ โดยสามารถตรวจสอบรายละเอียดเอกสารประกอบการยื่นคำร้องขอรับการตรวจลงตราได้จาก Website http://www.consular.go.th/modules.php?name=Content&pa=showpage&pid=76#NonImmigrantVisa * ทั้งนี้เมื่อได้รับการตรวจลงตราประเภท Non-Immigrant type “B” แล้วเมื่อเดินทางเข้าประเทศไทย เจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมือง ณ ด่านตรวจคนเข้าเมือง จะประทับตราอนุญาตให้พำนักในราชอาณาจักรได้เป็นการชั่วคราว เป็นระยะเวลา 90 วัน ค่ะ |
ถาม : คนต่างชาติได้ขอวีซ่า ประเภท Non-Immigrant Type “B” เพื่อเดินทางเข้ามาทำงานในประเทศไทยแล้ว แต่ยังไม่มี Work Permit จะต้องดำเนินการอย่างไรครับ? |
ตอบ : แนะนำให้ติดต่อขอคำแนะนำเรื่องการขอใบอนุญาตทำงาน (Work Permit) จากกรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน เพราะมีกฎหมายและระเบียบต่างๆ กำหนดไว้สำหรับการทำงานของคนต่างชาติ สามารถตรวจสอบข้อมูลได้จาก Website = www.doe.go.thค่ะ |
ถาม : มีหลักเกณฑ์ในการพิจารณาอนุญาตในการขออยู่ต่อเพื่อทำงาน หรือทำธุรกิจ อย่างไรบ้างครับ? |
ตอบ : สามารถตรวจสอบหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการพิจารณากรณีคนต่างด้าวราวขออนุญาตอยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว ได้ที่ Website = http://www.immigration.go.th/nov2004/doc/temporarystay/policy777-2551_th.pdf |
ถาม : การขออยู่ต่อเพื่อทำงาน หรือทำธุรกิจ จะต้องใช้เอกสารประกอบอะไรบ้างครับ? |
ตอบ : หากคนต่างชาติทำงานในพื้นที่กรุงเทพมหานคร สามารถตรวจสอบรายการเอกสารที่ใช้ประกอบการยื่นคำร้องขออยู่ต่อได้ที่ Website = http://bangkok.immigration.go.th/base.php?page=service# |
ถาม : สามารถยื่นเรื่องขออยู่ต่อฯ ได้ก่อนวีซ่าหมดกี่วันครับ? |
ตอบ : สามารถยื่นเอกสารขออยู่ต่อได้ 45 วัน ก่อนครบกำหนดอนุญาต (ที่เจ้าหน้าที่ตม.ประทับตราให้ไว้) ค่ะ |
ถาม : สามารถ Download แบบฟอร์มที่ใช้ประกอบการยื่นคำร้องขออยู่ต่อประเภทธุรกิจได้ที่ใดครับ? |
ตอบ : สามารถ Download แบบฟอร์มที่ใช้ประกอบการยื่นคำร้องขออยู่ต่อประเภทธุรกิจได้จาก Website = http://www.immigration.go.th/nov2004/base.php?page=download ดังนี้ ค่ะ |
ถาม : คนต่างด้าวได้รับอนุญาตให้ทำงานในพื้นที่กรุงเทพมหานคร หากประสงค์ขออยู่ต่อในราชอาณาจักร จะต้องยื่นเรื่องที่ใดครับ? |
ตอบ : หากต่างด้าวทำงานในพื้นที่จังหวัดกรุงเทพมหานคร สามารถยื่นคำร้องขออยู่ต่อได้ที่ บก.ตม.1 ดูรายละเอียดการย้ายที่ทำการของ บก.ตม.1 (กรุงเทพมหานคร เดิม)ไปยังศูนย์ราชการฯ อาคารบี ชั้น 2 ด้านทิศใต้ได้ที่ Website =http://www.immigration.go.th/nov2004/move.html ค่ะ |
ถาม : คนต่างด้าวไม่ได้ทำงานในพื้นที่กรุงเทพมหานคร หากประสงค์ขออยู่ต่อในราชอาณาจักร จะต้องยื่นเรื่องที่ใดครับ? |
ตอบ : หากคนต่างด้าวทำงานในเขตพื้นที่จังหวัดอื่น (ไม่ใช่กรุงเทพมหานคร) สามารถตรวจสอบหมายเลขติดต่อของด่านตรวจคนเข้าเมืองประจำจังหวัดต่างๆ ได้ที่ = http://immigration.go.th/nov2004/base.php ค่ะ |
ถาม : หากคนต่างด้าวได้ขอวีซ่า ประเภท Non-Immigrant type “B” เข้ามาทำงานในไทย กรณีเอกสารไม่ครบถ้วนตามหลักเกณฑ์ แต่ต้องการขยายเวลาในการอยู่ในประเทศไทย สามารถทำได้กี่วัน และต้องใช้เอกสารใดบ้างคะ? |
ตอบ : กรณีคนต่างด้าวได้รับการตรวจลงตราประเภท Non-Immigrant type “B” แต่ยังไม่มี Work Permit สามารถยื่นขออยู่ต่อได้เพียง 7 วัน (นับจากวันอนุญาตครั้งสุดท้าย) เท่านั้น |
ถาม : คนต่างด้าวต้องการจะขอวีซ่าเพื่อติดตามผู้ได้สิทธิ์ขออยู่ต่อเพื่อทำงานและได้รับอนุญาตให้อยู่ได้ 1 ปีแล้วจะต้องใช้วีซ่าอะไรในการเดินทางเข้าประเทศไทยครับ? |
ตอบ : คนต่างด้าวจะต้องได้รับการตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราว (Non-O) จึงจะสามารถยื่นคำร้องขออยู่ต่อในราชอาณาจักรเพื่อติดตามต่างด้าวผู้ได้รับสิทธิ์แล้วค่ะ |
ถาม : มีหลักเกณฑ์ในการพิจารณาอนุญาตในการขออยู่ต่อเพื่อติดตามผู้ที่ได้รับสิทธิ์ให้อยู่ในราชอาณาจักรเพื่อทำงาน หรือทำธุรกิจ อย่างไรบ้างครับ? |
ตอบ : สามารถตรวจสอบหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการพิจารณากรณีคนต่างด้าวขออนุญาตอยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว ได้ที่ Website = http://www.immigration.go.th/nov2004/doc/temporarystay/policy777-2551_th.pdf ค่ะ |
ถาม : พ่อ แม่ สามารถยื่นติดตามผู้ที่ได้รับสิทธิ์ให้อยู่ในราชอาณาจักรเพื่อทำงาน หรือทำธุรกิจได้หรือไม่ครับ? |
ตอบ : กรณีบิดาหรือมารดาจะติดตามคนต่างด้าวซึ่งยื่นคำร้องขออยู่ต่อในราชอาณาจักรด้วยเหตุผลทางธุรกิจ นั้น คนต่างด้าวจะต้องมีอายุตั้งแต่ 50 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป โดยคนต่างด้าวจะต้องได้รับการตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราว (Non-O) จึงจะสามารถยื่นคำร้องขออยู่ต่อในราชอาณาจักรเพื่อติดตามต่างด้าวผู้ได้รับสิทธิ์แล้วค่ะ |
ถาม : ภรรยาสามารถยื่นติดตามสามีผู้ที่ได้รับสิทธิ์ให้อยู่ในราชอาณาจักรเพื่อทำงาน หรือทำธุรกิจได้หรือไม่ครับ? |
ตอบ : กรณีคู่สมรสจะติดตามคนต่างด้าวซึ่งยื่นคำร้องขออยู่ต่อในราชอาณาจักรด้วยเหตุผลทางธุรกิจ นั้น คู่สมรสต้องมีความสัมพันธ์กันทั้งทางนิตินัยและพฤตินัย โดยคนต่างด้าวจะต้องได้รับการตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราว (Non-O) จึงจะสามารถยื่นคำร้องขออยู่ต่อในราชอาณาจักรเพื่อติดตามต่างด้าวผู้ได้รับสิทธิ์แล้วค่ะ |
ถาม : ลูกสามารถยื่นติดตามพ่อ-แม่ ผู้ที่ได้รับสิทธิ์ให้อยู่ในราชอาณาจักรเพื่อทำงาน หรือทำธุรกิจ ได้หรือไม่ครับ? |
ตอบ : กรณีบุตร บุตรบุญธรรม หรือบุตรของคู่สมรสขออยู่ในความ อุปการะ บุตร บุตรบุญธรรม หรือบุตรของคู่สมรสนั้นต้องยังไม่ได้สมรส และอยู่อาศัยเป็นส่วนแห่งครัวเรือนและต้องมีอายุไม่เกิน 20 ปีบริบูรณ์ โดยคนต่างด้าวจะต้องได้รับการตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราว (Non-O) จึงจะสามารถยื่นคำร้องขออยู่ต่อในราชอาณาจักรเพื่อติดตามต่างด้าวผู้ได้รับสิทธิ์แล้วค่ะ |
ถาม : พ่อตา แม่ยาย สามารถยื่นติดตามลูกเขยผู้ที่ได้รับสิทธิ์ให้อยู่ในราชอาณาจักรเพื่อทำงาน หรือทำธุรกิจ ได้หรือไม่ครับ? |
ตอบ : พ่อตา แม่ยายไม่สามารถยื่นคำร้องขออยู่ต่อเพื่อติดตามลูกเขยผู้ที่ได้รับสิทธิ์ให้อยู่ในราชอาณาจักรเพื่อทำงาน หรือทำธุรกิจแล้ว ได้เนื่องจากไม่มีระบุไว้ในหลักเกณฑ์ค่ะ |
ถาม : การขออยู่ต่อเพื่อติดตามผู้ได้รับสิทธิ์ให้อยู่ในราชอาณาจักรเพื่อทำงาน หรือทำธุรกิจแล้ว จะต้องใช้เอกสารประกอบอะไรบ้างครับ? |
ตอบ : รายละเอียดรายการเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการยื่นคำร้องดังนี้ |
ถาม : หากประสงค์จะยื่นคำร้องขออยู่ต่อเพื่อติดตามผู้ได้รับสิทธิ์ให้อยู่ในราชอาณาจักรเพื่อทำงาน หรือทำธุรกิจแล้ว สามารถยื่นเรื่องได้ที่ใด? |
ตอบ : การยื่นคำร้องขออยู่ต่อให้กับผู้ติดตามนั้นให้ติดต่อ ตม. เดิมตามที่ท่านได้เคยยื่นคำร้องขออยู่ต่อเพื่อการธุรกิจให้คนต่างด้าวผู้มี work permit * หากต่างด้าวหลัก (ผู้มี work permit) ทำงานในพื้นที่จังหวัดกรุงเทพมหานคร สามารถยื่นคำร้องขออยู่ต่อได้ที่ บก.ตม.1 ดูรายละเอียดการย้ายที่ทำการของ บก.ตม.1 (กรุงเทพมหานคร เดิม)ไปยังศูนย์ราชการฯ อาคารบี ชั้น 2 ด้านทิศใต้ได้ที่เวปไซด์ = http://www.immigration.go.th/nov2004/move.html |
ถาม : หากคนต่างด้าว หมดวาระ หรือลาออกจากบริษัทก่อนครบกำหนดอนุญาต (วีซ่า) คนต่างด้าวจะยังคงสามารถอยู่ในราชอาณาจักรได้อีกหรือไม่? |
ตอบ : คนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ต่อในราชอาณาจักรเพื่อทำงาน หากพ้นหน้าที่หรือเปลี่ยนสถานที่ทำงานใหม่จะถือว่าการอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเดิมนั้นสิ้นสุดลงทันที ทั้งนี้ รวมถึงครอบครัวผู้ใช้สิทธิ์ติดตามคนต่างด้าวผู้นั้นด้วย * หากคนต่างด้าวประสงค์อยู่ต่อ ให้เตรียมเอกสาร ตม.7 สำเนาหนังสือเดินทาง รูปถ่าย 1 ใบ พร้อมค่าธรรมเนียม 1,900 บาท เพื่อยื่นคำร้องขออยู่ต่อ ได้อีก 7 วัน (นับวันที่พ้นหน้าที่เป็นวันแรก) |
ถาม : หากคนต่างด้าว หมดวาระ หรือลาออกจากบริษัท คนต่างด้าวหรือนายจ้างจะต้องดำเนินการอย่างไรบ้าง? |
ตอบ : หากคนต่างด้าวพ้นหน้าที่หรือเปลี่ยนสถานที่ทำงานใหม่ บริษัทเดิมที่คนต่างด้าวทำงานจะต้องเตรียมเอกสารดังต่อไปนี้ มาแจ้งตม.เพื่อดำเนินการยกเลิกวีซ่า |
ถาม : คนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ได้ 1 ปี จะต้องแจ้งที่พักอาศัย(ทุก 90 วัน) หรือไม่? |
ตอบ : ต้องแจ้งที่พักอาศัยเมื่ออยู่ในราชอาณาจักรครบทุก 90 วัน โดยใช้แบบฟอร์ม ตม.47 |
ถาม : กรณีเป็นเจ้าของบ้าน มีคนต่างด้าวเข้ามาพักอาศัยอยู่ด้วยจะต้องทำอย่างไรบ้าง(ให้ตัวแทนมาดำเนินการแทนได้หรือไม่)? |
ตอบ : เจ้าของบ้านจะต้องแจ้งคนต่างด้าวมาเข้าพักอาศัยต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองภายใน 24 ชั่วโมง นับแต่เวลาที่คนต่างด้าวเข้าพักอาศัย ซึ่งอาจแจ้งด้วยตนเอง หรือ มอบหมายให้ผู้อื่นนำหนังสือมาแจ้งแทนได้ โดยกรอกแบบฟอร์มการแจ้ง (ตม.30) ให้ครบถ้วน หรืออาจแจ้งได้โดยส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียน |
ถาม : การแจ้งที่พักอาศัย เมื่ออยู่ในราชอาณาจักรเกิน 90 วัน ของคนต่างด้าวใช้เอกสารอะไรบ้าง ? |
ตอบ : กรณีที่คนต่างด้าวมาดำเนินการแจ้งฯ ด้วยตนเองหรือให้ผู้อื่นมาดำเนินการแทน ใช้เอกสารดังนี้ 1. หนังสือเดินทางของคนต่างด้าว (ฉบับจริง) 2. แบบฟอร์ม ตม.47 ซึ่งกรอกและลงลายมือชื่อของคนต่างด้าวแล้ว 3. ใบรับแจ้งฯ ครั้งสุดท้าย (ถ้ามี) |
ถาม : การแจ้ง 90 วัน ถ้าแจ้งหลังครบกำหนดมีโทษหรือไม่ ? |
ตอบ : - กรณีมารายงานตัวกับเจ้าหน้าที่เอง มีโทษปรับ 2,000 บาท |
ถาม : การแจ้งที่พักอาศัย กรณีอยู่เกินกว่า 90 วัน ให้ผู้อื่นมาแจ้งแทนได้หรือไม่ อย่างไร ? |
ตอบ : สามารถให้ผู้อื่นมาแจ้งแทนได้ แต่ต้องไม่เกินกำหนดที่จะต้องแจ้ง โดยนำหนังสือเดินทางของคนต่างด้าว และแบบฟอร์ม ตม.47 ซึ่งคนต่างด้าวลงลายมือชื่อไว้แล้ว พร้อมทั้งใบรับแจ้งครั้งสุดท้าย (ถ้ามี) |
ถาม : การแจ้งที่พักอาศัย กรณีอยู่เกินกว่า 90 วัน แจ้งได้ที่ไหน ? |
ตอบ : กรณีที่มาแจ้งฯ ด้วยตนเอง หรือมีผู้อื่นมาดำเนินการแทนให้แจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ ที่ทำการตรวจคนเข้าเมืองในเขตพื้นที่ที่ผู้นั้นพักอาศัยอยู่ |
ถาม : คนต่างด้าวที่พักอาศัยอยู่ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร จะต้องรายงานตัวแจ้งอยู่เกินกว่า 90 วันที่ไหน ? |
ตอบ : งานแจ้งอยู่เกิน 90 วัน ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครจะต้องรายงานตัวที่ |
ถาม : การแจ้งที่พักอาศัย ของคนต่างด้าวกรณีอยู่เกินกว่า 90 วัน หากคนต่างด้าวไม่มาแจ้งด้วยตนเองหรือมอบให้ผู้อื่นมาดำเนินการ สามารถแจ้งฯ ด้วยวิธีอื่นใดอีกบ้าง และหากมีจะต้องดำเนินการอย่างไร ? |
ตอบ : คนต่างด้าวสามารถดำเนินการ แจ้งฯ ได้โดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียน โดยมีเอกสารและวิธีการดำเนินการดังนี้ |
ถาม : การแจ้งคนต่างด้าวเข้าพักอาศัย กรณีเป็นเจ้าของบ้านตามข้อ 2 จะต้องแจ้งที่ไหน ? |
ตอบ : ในเขตกรุงเทพมหานคร ให้แจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ถ้าอยู่ในเขตที่ที่ทำการตรวจคนเข้าเมืองตั้งอยู่ให้แจ้งที่ทำการนั้น หากไม่มีที่ทำการตรวจคนเข้าเมืองให้แจ้งต่อสถานีตำรวจท้องที่ |
ถาม : ขอแบบฟอร์มแจ้งคนต่างด้าวเข้าพักอาศัย (ตม.30) ได้ที่ไหน ? |
ตอบ : สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองทั่วราชอาณาจักร หรือดาวน์โหลดจากเว็บไซต์ |
ถาม : คนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้อยุ่ต่อระยะยาว (1ปี) แล้ว หากเดินทางออกนอกประเทศแล้วกลับเข้ามาใหม่ จะต้องมาแจ้ง 90 วัน เมื่อใด? |
ตอบ : กรณีดังกล่าว คนต่างด้าวจะต้องมารายงานตัวเมื่อครบกำหนด 90 วัน นับจากวันที่เดินทางเข้ามาครั้งสุดท้าย |
ถาม : การยื่นคำร้องขออยู่ต่อในราชอาณาจักร ตามแบบฟอร์ม ตม.7 ซึ่งมีการระบุที่อยู่ถือว่าเป็นการแจ้งที่พักอาศัยทุก 90 วัน ได้หรือไม่ ? |
ตอบ : การยื่นคำร้องขออยู่ต่อในราชอาณาจักรตามแบบฟอร์ม ตม.7 แม้ว่าจะมีการระบุที่อยู่อาศัยของคนต่างด้าว แต่ก็ไม่ถือว่าเป็นการรายงานตัวแจ้งที่พักอาศัยทุก 90 วัน * การแจ้งที่พักอาศัยทุก 90 วัน จะต้องแจ้งโดยใช้แบบฟอร์ม ตม.47 เท่านั้น |
ถาม : คนต่างด้าวหนังสือเดินทางหายต้องทำอย่างไรบ้าง และเมื่อได้รับเล่มใหม่แล้วต้องทำอย่างไรบ้าง ? |
ตอบ : แจ้งความที่ สถานีตำรวจ จากนั้นติดต่อสถานทูตของบุคคลต่างด้าว เพื่อขอรับหนังสือเดินทางฉบับใหม่ นำใบแจ้งความพร้อมหนังสือเดินทางพบเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมือง เพื่อสำเนาตราประทับ อนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักร |
ถาม : การขออยู่ในราชอาณาจักรประเภทต่างๆ ต้องมาติดต่อด้วยตนเองหรือ มอบอำนาจได้หรือไม่ ? |
ตอบ : ต้องมาติดต่อด้วยตนเองเท่านั้น |
ถาม : คนต่างด้าวเข้ามาไม่มีวีซ่าจะขออยู่ต่อได้หรือไม่อย่างไร ? |
ตอบ : คนต่างด้าวสัญชาติที่เดินทางเข้ามาได้โดยไม่มีวีซ่า หากมายื่นคำร้องอยู่ต่อ เจ้าหน้าที่จะประทับตราให้คนต่างด้าวเดินทางกลับภายใน7วัน นับถัดจากวันอนุญาตสิ้นสุด |
ถาม : คนต่างด้าวมีภรรยาเป็นคนไทยขออยู่ประเทศไทยเพื่ออุปการะภรรยาได้หรือไม่ มีหลักเกณฑ์อย่างไร ? |
ตอบ : ได้ มีหลักเกณฑ์ดังนี้ - ใบอนุญาตทำงานของคนต่างด้าว - หนังสือรับรองจากบริษัทผู้ว่าจ้าง โดยระบุรายละเอียดเกี่ยวกับเงินเดือน (เดือนละไม่น้อยกว่า 40,000 บาท) - หลักฐานการชำระภาษีเงินได้พร้อมใบเสร็จรับเงิน ได้แก่ ภ.ง.ด.1 (3 เดือนล่าสุด) และ ภ.ง.ด. 91 (ในรอบปีที่ผ่านมา) - หนังสือรับรองการมีเงินฝากจากธนาคารในประเทศไทย ณ ปัจจุบัน ไม่น้อยกว่า 400,000 บาท หรือ 5.3 กรณีมีรายได้จากต่างประเทศ เช่น เงินบำนาญ หรือเงินประกันสังคม - หนังสือรับรองจากสถานทูต หรือสถานกงสุลในประเทศไทยของผู้ยื่นคำขอแสดงการมีรายได้จากเงินบำนาญหรือรายได้อื่นไม่น้อยกว่า 40,000 บาทต่อเดือน 6. บันทึกถ้อยคำรับรองการเป็นคู่สมรสของคนต่างด้าว |
ถาม : มีภรรยาเป็นชาวต่างชาติต้องการให้มาอยู่ในประเทศไทยต้องทำอย่างไร ? |
ตอบ : กรณีชาวต่างชาติที่สมรสกับสามีสัญชาติไทยต้องการมาอยู่ในประเทศไทยมีหลักเกณฑ์ดังนี้ |
ถาม : ขออนุญาตอยู่ต่อฯ ประเภทวีซ่า NON-IMMIGRANT สัญชาติทวีปเอเชีย ติดต่อที่ไหน ? |
ตอบ : ปัจจุบันการขออนุญาตอยู่ต่อฯ ประเภทวีซ่า NON-IMMIGRANT ทุกสัญชาติ สามารถยื่นขออยู่ต่อได้ที่ บก.ตม.1 ศูนย์ราชการฯ อาคารบี ชั้น 2 ซอยแจ้งวัฒนะ 7 ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพฯเฉพาะกรณีคนต่างด้าวผู้ยื่นคำขอมีที่พักอาศัยในเขตกรุงเทพมหานคร หากมีภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัดอื่นก็สามารถ ยื่นได้ ณ ตรวจคนเข้าเมืองพื้นที่ที่คนต่างด้าวมีภูมิลำเนา |
ถาม : มีบุตรเป็นคนไทยจะขอมารับการอุปการะจากบุตรได้หรือไม่ ? |
ตอบ : ตามหลักเกณฑ์การขออยู่ต่อ กรณีดังกล่าวอาจยื่นคำร้องด้วยเหตุผลเป็นครอบครัวของผู้มีสัญชาติไทย โดยมีหลักเกณฑ์ดังนี้ |
ถาม : คนต่างด้าวอายุประมาณ 35 ปี ต้องการเข้ามาอยู่ในประเทศไทยโดยไม่ต้องทำงาน หรือแต่งงานกับคนไทยได้หรือไม่ มีหลักเกณฑ์อย่างไร ? |
ตอบ : ได้ กรณีเพื่อการลงทุนไม่น้อยกว่า ๑๐ ล้านบาท มีหลักเกณฑ์ดังนี้ 1. คนต่างด้าวต้องได้รับการตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราว 2. มีหลักฐานการโอนเงินเขาสู่ประเทศไทยจำนวนไม่น้อยกว่า ๑๐ ล้านบาท หลักฐานโอนเงินจากต่างประเทศเข้าสู่ประเทศไทยจากธนาคาร
|
ถาม : บุตรที่ติดตามพ่อหรือแม่เข้ามาทำงานในประเทศไทย มีเกณฑ์อายุกำหนดหรือไม่ อย่างไร ? |
ตอบ : มี กรณีบุตร บุตรบุญธรรม หรือบุตรของ คู่สมรสขออยู่ในอุปการะ บุตร บุตรบุญธรรมหรือบุตรของคู่สมรสนั้นต้องยังไม่ได้สมรส และอยู่อาศัยเป็นส่วนแห่งครัวเรือนนั้นและต้องมีอายุไม่เกิน ๒๐ ปีบริบูรณ์ |
ถาม : ถ้าต้องการใช้ชีวิตบั้นปลายต้องมีอายุเท่าใด มีหลักเกณฑ์อย่างไรบ้าง ? |
ตอบ : มีอายุตั้งแต่ 50 ปี บริบูรณ์ขึ้นไป มีหลักเกณฑ์ดังนี้
บาทต่อปี โดยมีหลักฐานเอกสารตามแต่กรณี ดังนี้
2.2 กรณีมีรายได้จากต่างประเทศ เช่นเงินบำนาญ หรือเงินประกันสังคม
2.3 กรณีมีเงินฝากธนาคารในประเทศไทย และเงินรายได้จากบำนาญ คำนวณรวมกัน ได้ไม่น้อยกว่า 800,000 บาท ต่อปี |
ถาม : ถ้าเงินฝากไม่ถึงจำนวนที่ตั้งไว้ นำเงินที่ได้รับรายเดือนมารวมด้วยได้หรือไม่ ? |
ตอบ : ได้โดยสามารถมีเงินฝากในธนาคารในประเทศไทยรวมกับเงินรายได้รายเดือน เช่น บำนาญคำนวณรวมกันได้ไม่น้อยกว่า 800,000 บาทต่อปี โดยแสดงหลักฐานเอกสารตามที่กำหนด |
ถาม : ถ้าเป็นสามีภรรยากันใช้เงินฝากบัญชีเดียวกันมาแสดงได้หรือไม่ ? |
ตอบ : ไม่ได้ ต้องเป็นชื่อบัญชีเงินฝากของผู้ยื่นคำร้องเท่านั้น |
ถาม : ถ้าต้องการเข้ามารักษาตัวในประเทศไทยทำได้หรือไม่ มีหลักเกณฑ์อย่างไร ? |
ตอบ : ได้ โดยต้องได้รับการรับรองและร้องขอจากแพทย์ประจำโรงพยาบาลที่ทำการตรวจรักษา โดยให้ปรากฏรายละเอียดเกี่ยวกับอาการป่วย ระยะเวลาในการรักษาและความเห็นของแพทย์ผู้รักษาว่าอาการป่วยนั้นเป็นอุปสรรคต่อการเดินทาง |
ถาม : คนต่างด้าวมีคดีอยู่ที่ศาลไม่ว่าเป็นโจทก์หรือจำเลย ถ้าวีซ่าหมดสามารถขออยู่ต่อได้หรือไม่ อย่างไร ? |
ตอบ : ได้ โดยต้องมีหลักฐานยืนยันว่าเป็นผู้เกี่ยวข้องกับการดำเนินคดี หรือดำเนินกระบวนพิจารณาอันเกี่ยวกับคดีโดยเป็นผู้กล่าวหา ผู้เสียหาย ผู้ต้องหา โจทก์จำเลย หรือพยาน |
ถาม : คนไทยถือหนังสือเดินทางประเทศอื่นมาขอต่อวีซ่าต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง ? |
ตอบ : เอกสารหลักฐานแสดงว่าเดิมเคยมีสัญชาติไทย หรือแสดงว่าบิดา หรือ มารดามีสัญชาติไทย หรือเคยมีสัญชาติไทย เช่น บัตรประจำตัวประชาชน,ทะเบียนบ้าน,สูติบัตรเป็นต้น |
ถาม : ถ้าคนต่างด้าวยื่นคำร้องขอพิสูจน์สัญชาติไทย แต่วีซ่าใกล้หมดอายุต้องทำอย่างไรบ้าง ? |
ตอบ : ยื่นขออยู่ต่อฯ ด้วยเหตุผลพิสูจน์สัญชาติ โดยต้องได้รับการรับรองจากส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง |
ถาม : คนต่างด้าวมีวีซ่า NON-IMMIGRANT เข้ามาติดตั้งเครื่องจักร ถ้ายังไม่เสร็จภายในกำหนดวีซ่าต้องทำอย่างไร ? |
ตอบ : ยื่นขออยู่ต่อฯ โดยต้องได้รับการรับรองและร้องขอจากองค์กรหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง |
ถาม : ต่อวีซ่าไว้แล้วนัดฟังผลต้องมาฟังด้วยตนเองหรือไม่ ? |
ตอบ : ไม่จำเป็น กรณีที่ยื่นคำร้องขออยู่ต่อในราชอาณาจักรและเจ้าหน้าที่นัดให้มาฟังผลการพิจารณาคนต่างด้าวอาจมาด้วยตนเองหรือมอบให้ผู้อื่นนำหนังสือเดินทางมาดำเนินแทนได้ |
ถาม : ถ้าจดทะเบียนสมรสในต่างประเทศเวลายื่นขออยู่ต่อฯ ต้องแปลและรับรองอย่างไร ? |
ตอบ : ต้องให้สถานทูตหรือสถานกงสุลของประเทศเจ้าของเอกสารรับรองการแปลข้อความในเอกสารแล้วนำมาให้กรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศตรวจรับรองลายมือชื่อ ผู้มีอำนาจลงนามของสถานทูตหรือสถานกงสุลนั้นอีกครั้งหนึ่ง |
ถาม : ทำงานสถานทูตในประเทศไทยขออยู่ต่อวีซ่าใช้เอกสารอะไรบ้าง ? |
ตอบ : แยกการตอบเป็น 2 กรณี |
ถาม : คนต่างด้าวทำงานรัฐวิสาหกิจ ต่อวีซ่าใช้เอกสารอะไรบ้าง ? |
ตอบ : 1. หนังสือรับรองและขอให้อยู่ต่อจากรัฐวิสาหกิจ ที่เกี่ยวข้อง 2. ใบอนุญาตทำงาน |
ถาม: คนต่างด้าวเข้ามาทำงาน หรือทำวิจัยต้องใช้เอกสารอะไรบ้างในการขออยู่ต่อฯ ? |
ตอบ : 1. หนังสือรับรองและขอให้อยู่ต่อจากคณบดีสถาบันอุดมศึกษา หรือจากหัวหน้าสถาบันวิจัยนั้น หรือ |
ถาม : คนต่างด้าวมาดูแลบุตรที่ศึกษาอยู่ในประเทศไทย ต้องทำอย่างไร ใช้วีซ่าประเภทใด ? |
ตอบ : หลักเกณฑ์การพิจารณา คือ
|
ถาม : ต้องการมาเรียนในประเทศไทย ต้องใช้วีซ่าประเภทใด ใช้เอกสารใดบ้าง ในการยื่นขออยู่ปีต่อปี ? |
ตอบ : 1. วีซ่าที่ได้รับจะต้องเป็นวีซ่า NON-IMMIGRANT Type ED
สถานศึกษาของรัฐ
|
ถาม : เรียนหนังสือที่โรงเรียนนานาชาติ ต่อวีซ่าต้องใช้อะไรบ้าง ? |
ตอบ : 1. สำเนาหนังสือเดินทางของผู้ยื่นคำขอ |
ถาม : คนต่างด้าวทำงานรัฐวิสาหกิจ ต่อวีซ่าใช้เอกสารอะไรบ้าง ? |
ตอบ : 1. หนังสือรับรองและขอให้อยู่ต่อจากส่วนราชการ หรือรัฐวิสาหกิจ หรือ |
ถาม : คนต่างด้าวผู้ถือใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว มีความประสงค์จะเดินทางออกนอกราชอาณาจักร ต้องทำอย่างไร ? |
ตอบ : คนต่างด้าวต้องมายื่นคำร้องขอรับใบสำคัญถิ่นที่อยู่ที่ กองบังคับการตรวจคนเข้าเมือง 1 หรือด่านตรวจคนเข้าเมืองภูมิภาค โดยยื่นเอกสารประกอบดังนี้ * เมื่อได้รับใบสำคัญถิ่นที่อยู่แล้ว และ ประสงค์จะเดินทางออกไปนอกราชอาณาจักร ต้องยื่นคำร้องขอรับการสลักหลังแจ้งออกเพื่อกลับเข้ามาอีกและขอรับการตรวจลงตราประเภท Non-Quota Immigrant Visa ก่อน โดยยื่นเอกสารดังนี้ * ค่าธรรมเนียมสำหรับตรวจลงตรา Non-Quota Immigrant Visa 1,900 บาท สำหรับเดินทางครั้งเดียว และ 3,800 บาท สำหรับเดินทางหลายครั้ง |
ถาม : คนต่างด้าวต้องทำอย่างไร เมื่อใบสำคัญถิ่นที่อยู่สูญหาย ? |
ตอบ : อันดับแรก ต้องแจ้งความต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ ณ สถานีตำรวจท้องที่ จากนั้นให้คนต่างด้าวนำเอกสารมายื่นคำร้องขอรับใบสำคัญถิ่นที่อยู่ ที่ กองบังคับการตรวจคนเข้าเมือง 1 หรือด่านตรวจคนเข้าเมืองภูมิภาค โดยยื่นเอกสารดังนี้ |
ถาม : คนต่างด้าวที่มีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร จะต้องทำอย่างไรเมื่อใบสำคัญถิ่นที่อยู่ไม่มีพื้นที่ว่างสำหรับสลักหลังเดินทางออกนอกราชอาณาจักร ? |
ตอบ : คนต่งด้าวต้องยื่นคำร้องขอเปลี่ยนใบสำคัญถิ่นที่อยู่ ที่กองบังคับการตรวจคนเข้าเมือง 1 หรือด่านตรวจคนเข้าเมืองภูมิภาค โดยมีเอกสารดังนี้ 6.ค่าธรรมเนียม 1,900 บาท |
ถาม : คนจีนที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยนานกว่า 50 ปี และถือใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว เมื่อประสงค์จะเดินทางออกนอกราชอาณาจักร และกลับเข้ามาอีกต้องทำอย่างไร ? |
ตอบ : ในกรณีที่ยังไม่มีใบสำคัญถิ่นที่อยู่ หากประสงค์จะเดินทางออกนอกราชอาณาจักร ต้องยื่นคำร้องขอรับใบสำคัญถิ่นที่อยู่ ณ กองบังคับการตรวจคนเข้าเมือง 1 หรือ ด่านตรวจคนเข้าเมืองภูมิภาค ซึ่งคนต่างด้าวมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตพื้นที่นั้น โดยเตรียมเอกสารดังนี้ |
ถาม : เอกสารที่ต้องใช้สำหรับการสลักหลังแจ้งออกนอกราชอาณาจักรเพี่อกลับเข้ามาอีก และการตรวจลงตราประเภท Non-Quota Immigrant Visa ต้องใช้เอกสารอะไรบ้างติดต่อที่แผนกใด ? |
ตอบ : คนต่างด้าวต้องติดต่อ กองบังคับการตรวจคนเข้าเมือง 1 หรือที่ด่านตรวจคนเข้าเมืองภูมิภาค โดยยื่นคำร้องขอสลักหลังแจ้งออกนอกราชอาณาจักรเพื่อกลับเข้ามาอีก และคำร้องขอรับการตรวจลงตราประเภท Non-Quota Immigrant Visa โดยยื่นเอกสารประกอบดังนี้ |
ถาม : จะสอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับการขอมีถิ่นที่อยู่ได้จากที่ใดบ้าง ? |
ตอบ : 1. ติดต่อเจ้าหน้าที่ กก.1(งานขอมีถิ่นที่อยู่) บก.ตม.1 ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 อาคาร บี (ชั้น 2 ด้านทิศใต้) ถนนแจ้งวัฒนะ เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ |
ถาม : การยื่นขอมีถิ่นที่อยู่สามารถยื่นขอประเภทไหนได้บ้าง ? |
ตอบ : ประเภทการยื่นคำขอ |
ถาม : คุณสมบัติเบื้องต้นของผู้ที่จะยื่นขอมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร ? |
ตอบ : ต้องถือหนังสือเดินทางของประเทศที่ตนเองถือสัญชาติอยู่ในปัจจุบัน และต้องได้รับการตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราว (Non-Immigrant Visa) พร้อมกับได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นรายปีมาแล้ว รอบเวลาการพำนักอยู่ไม่น้อยกว่า 3 ปี นับจนถึงวันที่ยื่นคำขอ |
ถาม : การขอมีใบต่างด้าว (ใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว) ต้องติดต่อที่ใด และใช้เอกสารอะไรบ้าง ? |
ตอบ : ต้องติดต่อที่สถานีตำรวจในท้องที่ที่มีภูมิลำเนาอยู่ |
ถาม : ขอทราบหลักเกณฑ์การขอใบต่างด้าว (ใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว) ? |
ตอบ : 1. มีอายุ 12 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป |
ถาม : ต้องการแก้ไขรายละเอียดในใบสำคัญประจำตัวคนต่งด้าว ต้องติดต่อที่ใด ? |
ตอบ : ติดต่อ |
ถาม : พระชาวลาว, เขมร มาศึกษาพระธรรมต้องมีวีซ่าประเภทไหน ? |
ตอบ : NON-IMMIGRANT VISA |
ถาม : คนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้อยุ่ต่อระยะ 1 ปี แล้ว ต้องการ เดินทางออกนอกประเทศชั่วคราวต้องทำอย่างไร ? |
ตอบ : ทำ Re-entry permit ติดต่อได้ที่ บก.ตม.1 หรือ ตม. ภูมิภาค หรือ ทาง Web site บก.ตม 1 (www.immigration.go.th) |
ถาม : ต้องการเปลี่ยนประเภทวีซ่าทำได้หรือไม่ มีหลักเกณฑ์อย่างไรบ้าง ? |
ตอบ : ทำได้ ต้องแสดงเอกสารตามประเภทที่จะเปลี่ยน |
ถาม : การขอเปลี่ยนวีซ่าจะต้องทำใช้เอกสารอะไรบ้าง ? |
ตอบ : ใช้เอกสาร ตามประเภทของวีซ่า ติดต่อสอบรายละเอียดที่เบอร์ 087-9159291 |
ถาม : ต้องการจ้างชาวต่างชาติมาทำงานในโรงงานต้องทำอย่างไรบ้าง ? |
ตอบ : ขอรับการตจรวจลงตราประเภท NON-IMMIGRANT TYPE B
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมกรุณาติดต่อ 087-9159291 Please feel free to contact us for a free consultation with our hotline customer service. Give us a call or complete the form below and press submit, we guarantee to respond within 24 hours. |
_______________________________________________________________________________________________________
สวัสดี วีซ่า เลขที่ 201 ซอยลาดพร้าว122 แขวงพลับพลา เขตวังทองหลาง จังหวัดกรุงเทพมหานคร 10310
โทร 02-9340188 , 087-9159291 (คุณปอม), 087-9159291 (คุณปอม)
: Sawadee Visa, : sawadeevisa,: www.facebook.com/sawadeevisa
www.sawadeevisa.com E-mail:sawadeevisa@gmail.com
Sawadee Visa 201 Soi Ladphrao122, Plubpla,Wangthonglang,Bangkok 10310 Thailand
Tel: (+66) 2-9340188, (+66)8-79159291 (English), (+66)8-79159291 (Thai)
087-915-9291
จันทร์ - อาทิตย์ 24 Hrs.